Repair, Renovate work
งานเสริมกำลังโครงสร้าง, เสา, คาน, พื้นคสล. , งานซ่อมแซมโครงสร้าง,รอยรั่ว,รอยร้าว

การก่อสร้างอาคารมักจะพบปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างซึ่งมีผลต่อความเสียหายของคอนกรีตซึ่งความเสียหายของคอนกรีตเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น การออกแบบ, วัสดุ, การก่อสร้าง,การใช้งาน,สิ่งแวดล้อมและการที่คอนกรีตต้องสัมผัสกับสภาวะต่างๆ ลักษณะที่จะพบเห็นบ่อยๆ เช่น การแตกตัว, การกะเทาะ การแตกร้าว, การรั่วซึม

  • งานเสริมกำลังคอนกรีต
    • CFRP  Structure  Strengthening
  • งานซ่อมแซมฐานราก  งานซ่อมแซมพื้น
    • Polyurethane Foam  Injection
    • Epoxy Injection
CFRP Structure Strengthening

   Carbon Fiber Structural Strengthening   งานเสริมกำลังคอนกรีต,โครงสร้าง,เสา,คาน,พื้นคสล. ด้วย Carbon-Fiber Reinforced Polymer (CFRP) เพื่อให้โครงสร้างรับกำลังได้มากขึ้นและสามารถต้านทานแผ่นดินไหว ใช้สำหรับระบบการเสริมกำลังโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพสูง ระบบ CFRP ประกอบด้วยแผ่น CFRP กับโครงสร้างที่ทากาวอีพ๊อกซี่เรซิ่น ระบบเหล่านี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานเสริมค่ากำลังแรงดัดของอาคารที่รับน้ำหนักแบบไดนามิกและแบบคงที่ และโครงสร้างอื่น ๆ เช่น สะพาน คาน เพดาน และผนัง ทำให้มีความคงทนในระยะยาว

อาคารเก่าๆ  มีความจำเป็นที่ต้องทำการปรับเปลี่ยน ฟังชั่นในการใช้งาน ต้องรับกำลังมากขึ้น เปลี่ยนจาก อาคาร ธรรมดา เป็น warehouse หรือ จากอาคารใช้สอยเดิมเป็นห้องเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร โดยที่ไม่ต้องทำการทุบ หรือ รื้อ โครงสร้างเดิมออก เพียงแค่เสริมด้วยแผ่น Carbon-Fiber Reinforced Polymer เพื่อให้สามารถใช้สอยพื้นที่นั้นได้อย่างปลอดภัย โดยการออกแบบจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ ดังนั้น การตรวจสอบหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย ควรกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการแก้ไขปัญหาที่สาเหตุ และซ่อมแซมผลที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ เหล่านั้น

การหุ้มเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เพิ่งมีไม่นานมานี้ เหมาะสำหรับเสาในอาคารที่มีขนาดใหญ่ เช่น เสาสะพาน อพาร์ทเมนต์ คอนโดมีเนียม อาคารสูง เช่นเดียวกับการหุ้มเสาด้วยแผ่นเหล็ก

สำหรับแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ เป็นแผ่นที่เสริมด้วยเส้นใยคาร์บอน ที่มีกำลังรับน้ำหนักสูงมาก คือมากกว่าเหล็กแผ่นทั่วไปถึง 10 เท่า แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์มีความบางสามารถนำไปพันรอบเสาได้โดยใช้กาวอีพอกซีเป็นตัวยึด ให้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ติดกับเสา เมื่อพันเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้เสาที่มีกำลังรับน้ำหนักสูงมาก สามารถต้านแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดี  มีข้อดีคือการก่อสร้างทำได้สะดวก และรวดเร็วกว่าการใช้แผ่นเหล็กหุ้มมาก     สำหรับการหุ้มเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์นั้น พบว่ามีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี

ทางบริษัทจึงขอนำเสนอระบบ การเสริมกำลังด้วยวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP) โดยวัสดุเสริมกำลังภายนอกที่ใช้กับชิ้นส่วนคอนกรีต เช่น เสา คาน พื้น หรือ ผนัง เพื่อเพิ่มกำลังในการรับแรงแนวแกน แรงดัด แรงเฉือน แรงบิด หรือเพื่อเพิ่มความเหนียว (Ductility) อาจจะมีลักษณะเป็นเส้นหรือแผ่นที่ยึดติดกับผิวคานด้วยอีพอกซี่เรซิน นอกจากนั้นยังสามารถเสริมกำลังให้โครงสร้างเสาพื้นและผนังได้อีกด้วย

แนวทางและปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเสริมกำลังโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

  1.  รู้ข้อมูลปัญหาและสำรวจสาเหตุของรอยแตกร้าวรวมถึงการเสื่อมสภาพของคอนกรีต
  2. ประเมินค่ากำลังรับน้ำหนักของโครงสร้าง
  3. สร้างแบบจำลองคร่าวๆของโครงสร้างอาคาร
  4. วิเคราะห์โครงสร้างเพื่อดูการกระจายตัวของแรงภายใน
  5. ออกแบบงานเสริมกำลังด้วยการแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์
  6. ให้คำแนะนำและการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุก
Polyurethane Foam Injection

    เป็นเทคนิคการแก้ไขปัญหาการรั่วซึม ซึ่งเกิดเนื่องจากมีการรั่วซึมตามแนวรอยต่อคอนกรีตที่เกิด ภายในคอนกรีตเป็นโพรง  โดยมีวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการอัดน้ำยา PU Foam Injection เข้าไปในเนื้อคอนกรีต เมื่อน้ำยา PU Foam สัมผัสกับน้ำจะสามารถขยาย โดยไม่มีการหดตัวหลังจากการแข็งตัว  จึงทำให้ได้เนื้อโฟมที่แน่นและยืดหยุ่นเพื่อเข้าไปอุดปิดโพรงและช่องว่างในคอนกรีตทำให้แก้การรั่วซึงได้

Epoxy Injection

เป็นเทคนิคการแก้ไขปัญหารอยแตกร้าว ด้วยวิธีการอัดน้ำยาอีพ๊อกซี่ เรซิ่น (Epoxy Injection) สองส่วนผสมที่มีความหนืดต่ำสามารถลื่นไหลเข้าไปในรอยแตกร้าวขนาดเล็กได้ดี มีความสามารถในการยึดเกาะคอนกรีตและเหล็กสูงแข็งตัวและมีค่า Compressive Strenght สูงอย่างรวดเร็วโดยไม่หดตัว

งานซ่อมแซมฐานราก
งานซ่อมแซมพื้น
Drainage Cell
เมนู